เมนู

ความไม่เคารพ. นั่งในที่ตรงหน้าเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องจ้องดู
ตาต่อตากัน. นั่งข้างหลังเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องยืนคอออกไปดู
เพราะฉะนั้น เวรัญชพราหมณ์ แม้นี้ จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง 6 อย่าง
เหล่านั้นแล เหตุดังนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้น
นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้าวหนึ่ง.

[อรรถาธิบายศัพท์ต่าง ๆ มี เอตํ ศัพท์ เป็นต้น]


เวรัญชพราหมณ์ นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล จึงได้กรามทูล
คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบทว่า เอตํ เป็นต้น พระอาจารย์แสดง
ใจความที่ควรจะกล่าวในบัดนี้. ท. อักษร ทำการต่อบท บทว่า อโวจ
แปลว่า ได้กราบทูลแล้ว. ประชุมบทว่า สุมมฺเมตํ ตัดบทเป็น สุตํ เม ตํ
แปลว่า ข้อนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว. พระอาจารย์แสดงในความที่ควรกล่าว
ในบัดนี้ด้วยคำว่า เอตํ มยา สุตํ เป็นต้น.
เวรัญชพรามหมณ์ ย่อมทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระโคตรว่า
โภ โคตม แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ
เมื่อจะแสดงข้อความที่เวรัญชพราหมณ์นั้นได้ฟังแล้ว จึงได้กล่าวคำมีอาทิ
อย่างนี้ว่า น สมโณ โคตโม. ในคำว่า สมโณ โคตโม เป็นต้นนั้น
มีการพรรณนาบทที่ไม่ง่ายดังต่อไปนี้ : -
บทว่า พฺราหฺมเณ ได้แก่ พราหมณ์โดยชาติ.
บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ เป็นคนแก่คร่ำคร่า คือถูกชราส่งให้ไปถึง
ความเป็นผู้มีอวัยวะหักเป็นท่อนเป็นต้น.
บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้เข้าเขตแห่งความเจริญแห่งอวัยวะน้อยใหญ่.

บทว่า มหลฺลเก คือผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยความเป็น
คนแก่โดยชาติ. มีคำอธิบายว่า ผู้เกิดมานานแล้ว.
บทว่า อทฺธคเต ได้แก่ ผู้ผ่านกาลมานานแล้ว. อธิบายว่า ผู้ล่วงเลย
มา 2-3 ชั่วรัชกาลแล้ว.
บทว่า วโยอนุปตฺเต ได้แก่ ผู้ย่างเข้าปูนปัจฉิมวัยแล้ว. ส่วนที่ 3
อันมีในที่สุดแห่งร้อยปี ชื่อว่า ปัจฉิมวัย (คือวัยสุดท้าย).
อีกอย่างหนึ่ง ในบททั้งหลายมีบทว่า ชิณเณ เป็นต้นนี้ พึงทราบ
โยชนาอย่างนี้ว่า บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ ผู้เกิดก่อน. มีอธิบายว่า ผู้คล้อย
ตามตระกูลที่เป็นไปตลอดกาลนาน.
บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเจริญแห่งคุณมีศีลและ
มรรยาทเป็นต้น.
บทว่า มหลฺลเก คือผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยความเป็นผู้มีสมบัติมาก
คือผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก.
บทว่า อทฺธคเต ได้แก่ ผู้ดำเนินไปตลอดทางแล้ว คือผู้ประพฤติ
ไม่ก้าวล่วงเขตแดนแห่งคุณมีวัตรจริยาเป็นต้น ของพวกพราหมณ์.
บทว่า วโยอนุปฺปตฺเต ได้แก่ ผู้ย่างเข้าถึงความเป็นคนแก่โดยชาติ
คือวัยที่สุดโต่ง.
บัดนี้ บัณฑิตพึงประกอบบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า อภิวาเทติ
ด้วย น อักษร ที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า น สมโณ โคตโม นี้ แล้วทราบ
ตามเนื้อความอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ทั้งไม่เชื้อเชิญ
ด้วยอาสนะอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จนนั่งบนอาสนะนี้. จริงอยู่ วา

ศัพท์ซึ่งมีอยู่ในบทเป็นต้นว่า อภิวาเทติ นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถชื่อว่า
วิภาวนะ (คือคำประกาศตามปกติของชาวโลก) ดุจ วา ศัพท์ในประโยคเป็นต้น
ว่า รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ลำดับนั้น เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแก่ตน จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนี้นั้น เป็นเช่นนั้นจริง
อธิบายว่า คำนั้นใด ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว, คำนั้น ย่อมเป็นเช่นนั้นจริง
คือข้อที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาและได้เห็นมานั้น ย่อมสมกัน คือเสมอกัน ได้แก่
ถึงความเป็นอย่างเดียวกันโดยความหมาย. เวรัญชพราหมณ์ กล่าวย้ำเรื่องที่ตน
ได้ฟังมาพร้อมทั้งที่ตนได้เห็นมา อย่างนี้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ไม่กราบไหว้
ได้ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะเลย เมื่อจะตำหนิ (พระพุทธองค์) จึงกราบทูลว่า
ตยทํ โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ดังนี้, มีอธิบายว่า การที่พระองค์
ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ไม่สมควรเลย.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้าน]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเข้าไปอาศัยโทษคือการกล่าว
ยกตนข่มท่าน แต่มีพระประสงค์จะทรงกำจัดความไม่รู้นั้น ด้วยพระหฤทัยที่
เยือกเย็นเพราะกรุณา แล้วแสดงความเหมาะสมแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัส
ว่าดูก่อนพราหมณ์ ! ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่เราควร
กราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ, เพราะว่าตถาคตพึง